วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับคนท้อง

 3. ห้ามไปงานศพ
  ร.อ. (หญิง) เพ็ญพร สมศิริ หัวหน้าโครงการเตรียมมารดาเพื่อการคลอด กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้แนะนำไว้ในหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน” (7 มี.ค. 2544) ว่า “...หญิงตั้งท้องในระหว่างรอคลอดอย่าเครียด และแสดงอาการวิตก เพราะจะส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ ...ควรทำใจให้มีความสุขยิ้มแย้ม เด็กเกิดมาจะได้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง...

  น่าแปลกที่ความเชื่อเรื่องนี้ปรากฏมีตรงกันแทบทุกท้องถิ่นของประเทศไทย แตกต่างกันเฉพาะเหตุผลที่ไม่อนุญาตหรือห้ามคนตั้งครรภ์ไม่ให้ไปร่วมงานเท่านั้นที่ไม ่ตรงกัน เช่น บางที่ให้เหตุผลว่า กลัวมีวิญญาณร้ายจากสุสารติดตามมาบางท้องที่ก็บอกว่า กลัวผีเข้า

  อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามหลักจิตวิทยาโดยยกเอาคำแนะนำของคุณหมอเพ็ญพรข้างต้นมาประกอบฬ จะเห็นถึงความห่วงใยที่คนรุ่นเก่ามีต่อคนตั้งครรภ์และเด็กในท้อง ไม่อยากให้ต้องเข้าไปอยู่ท่ามกลางบรรยากาศ แห่งความสูญเสียโศกเศร้า ทำให้จิตใจต้องสลดหดหู่และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นงานศพของญาติพี่น้องคนที่รักด้วย แล้ว อาจจะทำให้เกิดอาการ เครียดขึ้นมาได้ ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อทั้งตัวแม่และลูกในครรภ์

 4. ห้ามออกกำลังกาย / ควรออกกำลังกาย
  คงเป็นเพราะในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ ดังนั้น ในสมัยก่อนบางท้องถิ่นจึงมองว่าการตั้งครรภ์นั้นเหมือนเป็นการเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องการการพักผ่อนห้ามออกแรงในเรื่องนี้ พลเรือตรี นายแพทย์สุริยา ณ นคร รองเจ้ากรมแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้กล่าวไว้ในบทความเรื่องหญิงมีครรภ์กับการออกกำลังกายในน้ำดังนี้ “...อย่างไรก็ดีหลักฐานต่างๆ แสดงว่าการออกกำลังกายสม่ำเสมอในระหว่างการตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกกำลังกาย ช่วยให้คลอดง่ายและหลังคลอดแล้วร่างกายจะคืนสู่สภาพปกติรวดเร็ว...อย่างไรก็ตาม ท่านรองเจ้ากรมแพทย์ได้บอกว่า สตรีมีครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง และพอเหมาะภายใต้คำแนะนำของแพทย์

  ความเชื่อในเรื่องนี้ไม่เป็นเอกฉันท์แตกต่างไม่ตรงกันเหมือนดังข้ออื่นๆ เพราะบางท้องที่ทางภาคเหนือกลับนิยมให้หญิงมีครรภ์ทำงานบ้านไม่นั่งไม่นอนอยู่เฉยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า หากอยู่เฉยๆ ไม่ทำงานแล้วท้องจะฝืดทำให้คลอดลูกยาก ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลที่คุณหมอแนะนำมาอย่างน่าประหลาดใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น