วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติของคน

       การที่คนเราไม่สามารถมีชีวิตที่ยืนยาวตามธรรมชาติได้ นอกจากมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ ภัยจากมนุษย์ด้วยกัน ภัยจากสงคราม และจากโรคภัยไขเจ็บแล้ว ยังมีสาเหตุที่สำคัญอีก 5 ประการ ดังนี้
  1. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหายใจ นอกจากมนุษย์แล้ว สัตว์ทั้งหลายล้วนแต่หายใจโดยอาศัยช่องท้อง ข้อดีของการหายใจแบบนี้คือสามารถกระตุ้นสมรรถภาพของเซลล์ปอด ทำให้ปอดขยายในปริมาตรเพิ่มขึ้น แต่มนุษย์จะมีการหายใจดดยอาศัยช่องท้องในขณะที่ยังอยู่ใครรภ์มารดาหรือในวัยทารกเท่านั้นอพอเริ่มฝึกเดินก็เปลี่ยนเป็นหายใจโดยอาศัยทรวงอกแทน
  2. การเปลี่ยนแปลงท่วงท่าในการเคลื่อนไหว มนุษย์เรามักจะใช้วิธียืนตรงใช้แรงขาทั้งสองข้างมายืนเคลื่อนไหว แทนการคลานสี่เท้าเหมือนสัตว์แน่นอนเป็นการก้าวหน้าครั้งใหญ่ แต่ทว่ายืนนั้นได้หดพื้นที่การเคลื่อนไหวของโครงกระดูก ไขข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นต่่างๆ ส่งผลให้การเคลื่อนไหวทั้งร่างกายทั้งระบบหดแคบลง และยังมีผลทำให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ท่ายืนตรงทำให้สมองขาดเลือดอขาดออกซิเจน เนื่องจากหัวใจทำการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆเพื่อเป็นการลดความแรงบางอย่างทางกายภาพ ซึ่งทำให้สมรรถภาพในการปรับตัวของหัวใจถดถอยลงเช่นกัน
  3. การเปลี่ยนประสิทธิภาพการย่อย เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์แล้ว ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของมนุษย์ถดถอยลงอย่างเห็นได้ชัดแรงเคี้ยวบดอาหารก็ลดน้อยลงอสูญเสียประสิทธิภาพการกลืน เนื่องจากการก่อตัวของเชื้อต่างๆ ในกระเพาะ ลำไส้ ทำให้มนุษย์เราเกิด โรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการไหลเวียนเปลี่ยนถ่ายโรคจากอารยธรรมสมัยใหม่ไดง่ายจนถึงขั้นเสียชีวิตก็มี
  4. การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการไหลเวียน สัตว์ที่ดำลงชีวิตอยู่ในธรรมชาติอันกว้างใหญ่ ต้องรักษาสมรรถภาพใการรักษาความอบอุ่นและกระจายความร้อนของผิวหนังไว้อย่างดี เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการผันแปรของอากาศทั้งสี่ฤดู แต่มนุษย์เรามีชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สะดวกสะบายยิ่งขึ้นทุกวัน ทำให้เส้นเลือดค่อยๆ อุดตันและแข็งตัว บวกกับผลกระทบของวิถีชีวิตความเคยชินที่ไม่ดี ทำให้เส้นเลือดในหัวใจและสมองของมนุษย์มักจะเกิดการแข็งตัว จึงทำให้อายุสั้น
  5. การเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางปราสาท ระบบปราสาทของมนุษย์มีการพัฒนาอย่างสูง ภาวะจิตใจแปรเปลี่ยนได้สารพัดรูปแบบ เนื่องจากมนุษย์มีภาวะอารมณ์ 7 รูปแบบ คือ ดีใจ โกรธ วิตกกังวล ครุ่นคิด เศร้าโศก เสียใจ เคียดแค้น ตระหนกตกใจ อารมณืเหล้่านี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น